วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

มังคุด กับ สุขภาพของเรา



ประโยชน์ของมังคุด

         1.  ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุท้องเสีย
สารสกัดน้ำต้ม เปลือกผลมังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุ อาการท้องเสีย ได้แก่ Shigella dysenteriae, Sh. flexneri, Sh. sonnei และ Sh. boydii (1-3), Escherichia coli (2-4), Streptrococcus faecalis (5, 6), Vibrio cholerae (2, 3, 5, 6), V. parahaemolyticus, Salmonella agona, S. typhi, S. typhimurium, S. stanley, S. virchow (2, 3), S.welterverdin (2)  และสารสกัดน้ำต้มจากเปลือกผลความ เข้มข้น 62.5 – 500 มก./มล. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย V. cholerae, V. parahaemolyticus, Sh. dysenteriae, Sh. typhi และ Sh. boydii (2)  แต่มีการศึกษาบางเรื่องพบว่าสารสกัด ด้วยน้ำ เอทิลอัลกอฮอล์ 95% และไดเอทิลอีเทอร์ จากเปลือกผล ความเข้มข้น 105 มคก./มล. ไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง Sh. dysenteriae, Sh. flexneri, Sh. boydii และ Sh. sonnei (7)  สารสกัด ปิโตรเลียมอีเทอร์จากเปลือกผลไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง E. coli  (8)  และสารสกัดเอทานอลจากเปลือกผลความเข้มข้น 2.5 มก./แผ่น ไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง E. coli (9)  

2.  ฤทธิ์แก้อาการท้องเสีย
สารที่พบมากที่ เปลือกคือ tannin (10) มีฤทธิ์ฝาดสมาน   จึงช่วยแก้อาการ ท้องเสีย (11)  การใช้ทิงเจอร์จากเปลือกผลร่วมกับ emetine จะช่วยลดอาการบิด และลดขนาดยา emetine ที่ต้องใช้ลง (12)
3.  ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุการเกิดหนอง
สารสกัดเปลือก มังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการ เกิดหนอง คือ Staphylococcus aureus (4, 8, 13-18) และ S. aureus ที่ดื้อยา methicillin (MRSA) (8, 13, 17-19) ส่วนสกัดที่ 1 จากสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จะให้ผลยับยั้งแบคทีเรียด้วยความเข้มข้นต่ำสุด (MIC) และฆ่าแบคทีเรียด้วยความเข้มข้นต่ำสุด (MBC) ต่อ MRSA ได้ดีกว่า methicillin ถึง 20 เท่า และ 100 เท่า ตามลำดับ  แต่ให้ผลยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MIC และ MBC) ต่อ S. aureus เท่ากับ methicillin (8)
                โลชันที่ประกอบด้วย สารสกัดจากเปลือกผล 0.75% และสบู่เหลวที่ประกอบด้วยสารสกัด อัลกอฮอล์จากเปลือกผล 0.15% มีฤทธิ์ยับยั้ง  S.  aureus (16)
4.  สารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อ แบคทีเรียสาเหตุการเกิดหนอง
สารผสมของ mangostin และอนุพันธ์ สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเกิดหนอง คือ Staphylococcus aureus ทั้งสายพันธุ์ปกติ และสายพันธุ์ที่ดื้อต่อ penicillin (20-23) และพบว่า isomangostin มีฤทธิ์น้อยที่สุด (21)   สำหรับสาร mangostin มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ปกติ และ Staphylococcus aureus สาย พันธุ์ที่ดื้อต่อ penicillin โดยค่า MIC 7.8 มก./มล. ส่วนสาร Gartanin, g-mangostin, 1-isomangostin และ 3-isomangostin ต้องใช้ความเข้มข้น สูงกว่า (22, 23)  สารผสมของ mangostin, mangostin จากเปลือกผล และ a-mangostin จากเปลือกต้น มีฤทธิ์ยับยั้ง MRSA (24, 25) และ Enterococci ที่ดื้อต่อ vancomycin (VRE) (25)  เมื่อใช้ a-mangostin ร่วมกับ gentamycin หรือ ใช้ร่วมกับ vancomycin hydrochloride จะมีผลร่วมกันในการต้าน VRE และ MRSA ตามลำดับ (25) 
5.  ฤทธิ์รักษาแผล
Mangostin จากผล มังคุดมีผลรักษาแผลในหนูขาวได้ (26)  ครีม GM1 ประกอบด้วยสารสกัดจากมังคุด มีคุณสมบัติใช้ในการรักษาแผล แผลติดเชื้ออักเสบ และแผลในผู้ป่วยเบาหวาน (13)
6.  ฤทธิ์ลดการอักเสบ
สารสกัดจากมังคุด มีฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูถีบจักร (27) และหนูขาว (28) ที่ถูกเหนี่ยวนำให้อุ้งเท้าบวมด้วย carrageenan ลดบวมได้ 45% (27, 28)  ยางจากมังคุดประกอบด้วย xanthones > 75% มีฤทธิ์ลดการอักเสบ (19)  Mangostin, 1-isomangostin และ mangostintriacetate จากมังคุด เมื่อกรอกปากหรือฉีดเข้าช่องท้องหนูขาว มีผลระงับการอักเสบที่อุ้งเท้าหนูซึ่งใช้ carrageenin ทำให้ อักเสบ  และการอักเสบที่หลังเมื่อฝังก้อนสำลี (cotton pellet implantation) ในหนูที่ตัดต่อมหมวกไตออกทั้ง 2 ข้าง  สารทั้ง 3 ตัว ไม่มีผลต่อ stabilize mast cell membrane และไม่สามารถป้องกันการสลายตัวของ mast cells ของหนู เนื่องจากการใช้ polymyxin B, diazoxide, teiton X- 100 และไม่เปลี่ยนแปลง prothrombin time (26)  สารสกัดเอทานอล 40%, 70%, 100% และสารสกัดน้ำ (29), g-mangostin (30, 31) และ a-mangostin (31) มีกลไกการออกฤทธิ์ไปยับยั้งการสร้าง prostaglandin E2 (PGE2) (29-31)  นอกจากนั้น g-mangostin ยังออกฤทธิ์ยับยั้ง cyclooxygenase 1 และ 2  ความเข้มข้นของสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งได้ 50% เท่ากับ 0.8 และ 2.0 ไมโครโมล ตามลำดับ (30)  และสารสกัดด้วยเอทานอล 40% จากเปลือกผล ขนาด 100 และ 300 มคก./มล. ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งฮีสตามีนจากเซลล์ที่ถูกกระตุ้นได้มากกว่า 80% (29)
                Mangostin และอนุพันธ์ที่ละลายน้ำได้ 2 ชนิด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของข้อ โดยไปยับยั้งขั้นตอนที่ก่อให้เกิดการอักเสบในเนื้อเยื่อขั้นตอนใดขั้นตอน หนึ่ง ซึ่งไม่ใช่กลไกการยับยั้งการสลายของ hyaluronic acid โดยอนุมูล อิสระไฮดรอกซิลจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (32)
                ครีม GM1 ประกอบด้วยสารสกัดจากมังคุด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เป็น 3 เท่าของแอสไพริน (13)
7.  หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบ ความเป็นพิษ
                7.1  การทดสอบความ เป็นพิษ
                เมื่อให้หนูถีบจักร กินสารสกัดจากมังคุด พบว่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งเท่ากับ 9.37 ก./กก.  สารสกัดมังคุดที่ความเข้มข้นสูงสุด 20 ก./กก. ไม่ทำให้หนูถีบจักรตายภายในเวลา 3 วัน  เมื่อศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดที่ความเข้มข้น 2, 4 และ 8 ก./กก./วัน มีผลทำให้หนูตาย 14.29, 16.67 และ 42.86% ตามลำดับ และน้ำหนักไตเพิ่มขึ้น (27)                   
7.2  พิษต่อตับ
ฉีดสาร mangostin ในมังคุดเข้าหนูในขนาด 200 มิลลิกรัม/น้ำหนัก ตัว 1 กิโลกรัม สารนี้จะไปลดปริมาณเอนไซม์ glutamic oxaloacetic transaminase (SGOT) และ glutamic pyruvic transaminase (SGPT) หลังการฉีดสาร 12 ชั่วโมง   เมื่อเปรียบเทียบกับ paracetamol โดยป้อนอาหารที่มีสาร mangostin แก่หนูในขนาด 1.5 กรัม/น้ำหนัก ตัว 1 กิโลกรัม   พบว่า paracetamol เพิ่ม SGOT และ SGPT มากกว่า mangostin   โปรตีนในตับของหนูที่ ทดสอบด้วย paracetamol ลดลง   ในขณะที่หนูที่ทดสอบด้วย mangostin ค่าไม่เปลี่ยนแปลง (33)
7.3  ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
สารสกัดด้วยเมทานอ ล 50% ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 (34)
7.4  ฤทธิ์ต้าน การก่อกลายพันธุ์
สารสกัดด้วยเมทานอ ล 50% มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์จากสาร 2-(2-fluryl)-3(5-nitro-2-fluryl)acrylamide (AF2) ต่อเชื้อ S. typhimurium TA98 และ TA100 (34)  แต่สารสกัดด้วยน้ำร้อนไม่มีฤทธิ์ต้านการก่อกลาย พันธุ์จากสาร AF2 และ 4-nitroquinoline-l-oxide (4-NQO) ต่อเชื้อ S. typhimurium TA98 (35)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น